แนวข้อสอบศาลยุติธรรม




พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และแก้ไขเพิ่มเติม

1.          ประธานศาลอุทธรณ์ หมายถึงข้อใด
              ก.  อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์                                        ข.   ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ผู้ใดที่ได้รับเลือก
              ค.  อธิบดีผู้พิพากษาศาลฎีกา                                               ง.   ไม่มีข้อถูก
              คำตอบ  ก.  ประธานศาลอุทธรณ์  หมายความว่า อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วย
              ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลากร
2.          ข้าราชการศาลยุติธรรม หมายถึงใคร
              ก.  สมศรี เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 3                                    ข.   สมชาย  ผู้ช่วยผู้พิพากษา
              ค.  สมเดช  เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม 1                                 ง.   ข้อ ก. และ ค. ถูก
              คำตอบ  ง.  ข้าราชการศาลยุติธรรม  หมายความว่า ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ
              ข้าราชการฝ่ายตุลาการ
3.          ข้าราชการตุลาการ หมายถึงใคร
              ก.  อนันต์  อธิบดีผู้พิพากษา                                               ข.   อรุณ  ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
              ค.  อดิศร  ผู้ช่วยผู้พิพากษา                                                  ง.   ถูกทุกข้อ
              คำตอบ  ง.  ข้าราชการตุลากร  หมายความว่า ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ
              ฝ่ายตุลาการ
4.          ข้อใดมิใช่ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
              ก.  กนิษฐา  ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์                                   ข.   กรกนก  เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม 3
              ค.  กษมา  ลูกจ้างชั่วคราว                                                    ง.   ถูกทุกข้อ
              คำตอบ  ค.  ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม  หมายความว่า ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมาย
              ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
5.          คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรียกโดยย่อว่าอะไร
              ก.  ก.ศ.                                                                                    ข.   ก.บ.ศ.
              ค.  ค.บ.ศ.                                                                                ง.   ค.บ.ศ.
              คำตอบ  ข.  ก.บ.ศ.  หมายความว่า คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม

6.          คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม  เรียกโดยย่อว่าอะไร
              ก.  ก.ศ.                                                                                    ข.   ก.บ.ศ.
              ค.  ค.ข.ศ.                                                                                ง.   ก.ข.ศ.
              คำตอบ  ก.  ก.ศ.  หมายความว่า คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
7.          ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับสำนักงานศาลยุติธรรม
              ก.  เป็นหน่วยงานอิสระ                                                       ข.   มีฐานะเป็นนิติบุคคล
              ค.  เป็นรัฐวิสาหกิจ                                                               
              ง.   การแบ่งส่วนราชการภายในและการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้ทำเป็นประกาศ ก.บ.ศ.
              คำตอบ  ค.  ให้มีสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล
                             การแบ่งส่วนราชการภายในของสำนักงานศาลยุติธรรมและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ
              ส่วนราชการนั้น ให้ทำเป็นประกาศ ก.บ.ศ.
                            ประกาศตามวรรคสอง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากประธานศาลฎีกาและประกาศในราชกิจจา
              นุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
8.          สำนักงานศาลยุติธรรมมีหน้าที่อะไร
              ก.  งานธุรการของศาลยุติธรรม                                          ข.   งานส่งเสริมงานตุลาการ
              ค.  งานวิชาการของศาลยุติธรรม                                        ง.   ถูกทุกข้อ        
              คำตอบ  ง.  สำนักงานศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานธุรการของศาลยุติธรรม งานส่งเสริม
              งานตุลาการ และงานวิชาการ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่ศาลยุติธรรม รวมทั้ง
              เสริมสร้างให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
9.          ข้อใดเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำศาลยุติธรรมที่จะต้องรับผิดชอบ
              ก.  งานธุรการ                                                                        ข.   งานช่วยค้นคว้าทางวิชาการแก่ผู้พิพากษา
              ค.  ประสานงานกับส่วนราชการต่างๆ                             ง.   ถูกทุกข้อ
              คำตอบ  ง.  ให้สำนักงานศาลยุติธรรมจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำศาลยุติธรรมทุกแห่ง ให้เพียงพอที่จะ
              รับผิดชอบงานธุรการ  งานช่วยค้นคว้าทางวิชาการแก่ผู้พิพากษา  รวมตลอดทั้งการประสานงานกับ
              ส่วนราชการต่างๆ และงานอื่นใดตามที่ศาลยุติธรรมมอบหมาย
10.        ใครมีหน้าที่ควบคุมดูแลราชการโดยทั่วไปของสำนักงานศาลยุติธรรม
              ก.  ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ                                                  ข.   เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
              ค.  ผู้อำนวยการศาลยุติธรรม                                               ง.   จ่าศาล
              คำตอบ  ข.  ให้มีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นข้าราชการศาลยุติธรรม ขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
              มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ
              ของทางราชการ รวมทั้งระเบียบ ประกาศ และมติของ ก.บ.ศ.  และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการใน



แนวข้อสอบ
พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
**************************

1.   พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้ไว้ ณ วันใด
ก.   ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓      ค. ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ข.   ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓      ง. ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ตอบ    ข.๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
2.   พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓  ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
ก.   ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓         ค. ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๓
ข.   ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๓         ง. ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๓
ตอบ   ค. ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๓
3.   ใครคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ 
ก.   ประธานศาลฎีกา            ค. รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
ข.   รองประธานศาลฎีกา         ง. อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ตอบ   ก. ประธานศาลฎีกา   
4.   ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญนี้มีกี่ชั้น
ก.   2  ชั้น               ค. 3  ชั้น
ข.   6  ชั้น               ง. 4  ชั้น
ตอบ   ค. 3  ชั้น
มาตรา ๑ ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญนี้มีสามชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์
และศาลฎีกา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
5.   ข้อใด ไม่ใช่ ศาลยุติธรรมตามพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ก.   ศาลชั้นต้น            ค. ศาลอาญา
ข.   ศาลอุทธรณ์            ง. ศาลฏีกา
ตอบ   ค. ศาลอาญา
6.   ข้อใด ไม่ใช่  ศาลชั้นต้น
ก.   ศาลอุทธรณ์ภาค            ค. ศาลอาญา
ข.   ศาลแพ่ง               ง. ศาลแขวง
ตอบ   ก. ศาลอุทธรณ์ภาค
มาตรา ๒ ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น
7.   ข้อใดคือศาลอุทธรณ์
ก.   ศาลอุทธรณ์และศาลจังหวัด      ค. ศาลอุทธรณ์ภาคและศาลจังหวัด
ข.   ศาลอุทธรณ์และศาลแขวง      ง. ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค
ตอบ   ง. ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค
มาตรา ๓ ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค   
8.   ใครมีหน้าที่วางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรม เพื่อให้กิจการของศาลยุติธรรมดำเนินไปโดยเรียบร้อยและเป็นระเบียบเดียวกัน
ก.   เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรม
ข.   เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
ค.   ประธานศาลฎีกา
ง.   รองประธานศาลฎีกา
ตอบ   ค. ประธานศาลฎีกา
มาตรา ๕๒ ให้ประธานศาลฎีกามีหน้าที่วางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรม เพื่อให้กิจการของศาลยุติธรรมดำเนินไปโดยเรียบร้อยและเป็นระเบียบเดียวกัน และให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในการปฏิบัติตามระเบียบวิธีการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง
9.   ใครมีอำนาจเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้ง การยุบเลิก หรือการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลของศาลยุติธรรมต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการ
ก.   เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรม
ข.   เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
ค.   ประธานศาลฎีกา
ง.   รองประธานศาลฎีกา
ตอบ   ข. เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
มาตรา ๖ ให้เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีอำนาจเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้ง การยุบเลิก หรือการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลของศาลยุติธรรมต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงจำนวน สภาพ สถานที่ตั้ง และเขตอำนาจศาลตามที่จำเป็นเพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปโดยเรียบร้อยตลอดราชอาณาจักร
10.   ใครเป็นผู้กำหนดจำนวนผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมให้เหมาะสมตามความจำเป็นแห่งราชการ
ก.   รองประธานศาลฎีกา         
ข.   คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
ค.   ประธานศาลฎีกา            
ง.   เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
ตอบ    ข. คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
มาตรา ๗ ให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดจำนวนผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมให้เหมาะสมตามความจำเป็นแห่งราชการ
11.   ในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง มีผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ศาลละกี่คน
ก.   1 คน               ค.  3 คน
ข.   2 คน               ง.  4  คน
ตอบ   ก. 1 คน   
มาตรา ๙ ในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ศาลละหนึ่งคน
12.   ข้อใดคืออำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค
อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ก.   นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีใดๆ ของศาลนั้น หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้วมีอำนาจทำความเห็นแย้งได้
ข.   ให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในศาลนั้นในข้อขัดข้องเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา
ค.   สั่งคำร้องคำขอต่างๆ ที่ยื่นต่อตนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
ง.   ถูกทุกข้อ
ตอบ    ง. ถูกทุกข้อ
มาตรา ๑๑ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาคอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ต้องรับผิดชอบในราชการของศาลให้เป็นไปโดยเรียบร้อย และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑)  นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีใดๆ ของศาลนั้น หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้วมีอำนาจทำความเห็นแย้งได้
(๒) สั่งคำร้องคำขอต่างๆ ที่ยื่นต่อตนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
(๓) ระมัดระวังการใช้ระเบียบวิธีการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปโดยเร็ว
(๔) ให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในศาลนั้นในข้อขัดข้องเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา
(๕) ร่วมมือกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในบรรดากิจการอันเกี่ยวกับการจัดวางระเบียบและการดำเนินการงานส่วนธุรการของศาล
(๖) ทำรายงานการคดีและกิจการของศาลส่งตามระเบียบ
(๗) มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
13.   ห้ามมิให้ศาลยุติธรรมศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลยุติธรรมอื่นได้สั่งรับประทับฟ้องโดยชอบแล้วไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม  ถูกกล่าวไว้ในมาตราใด
ก.   มาตรา  10            ค. มาตรา   17
ข.   มาตรา  15            ง. มาตรา  8
ตอบ   ข. มาตรา  15
14.   ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลชั้นต้นเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ให้ตราเป็นกฎหมายใด
ก.   พระราชบัญญัติ            ค. ประกาศกระทรวง
ข.   กฎกระทรวง            ง. พระราชกฤษฎีกา
ตอบ   ง. พระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๑๖๖ ศาลชั้นต้นมีเขตตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้  ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
15.   ศาลใดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจทำการไต่สวนหรือมีคำสั่งใดๆ
ก.   ศาลแขวง            ค. ศาลแพ่ง
ข.   ศาลจังหวัด            ง. ศาลอาญา
ตอบ   ก. ศาลแขวง   
มาตรา ๑๗ ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจทำการไต่สวนหรือมีคำสั่งใดๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๕
วรรคหนึ่ง
16.   ศาลใดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น
ก.   ศาลแขวง            ค. ศาลแพ่ง
ข.   ศาลจังหวัด            ง. ศาลอาญา
ตอบ   ข. ศาลจังหวัด
มาตรา ๑๘ ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น
17.   ศาลใดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น
ก.   ศาลแพ่ง               ค. ศาลแพ่งธนบุรี
ข.   ศาลแพ่งกรุงเทพใต้         ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
มาตรา ๑๙ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรีมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น
18.   ศาลใด ไม่ได้ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น
ก.   ศาลแพ่ง               ค. ศาลอาญาธนบุรี
ข.   ศาลอาญา            ง. ศาลอาญากรุงเทพใต้
ตอบ   ก. ศาลแพ่ง
ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ และศาลอาญาธนบุรีมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา แล้วแต่กรณี
19.   ศาลใดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอำนาจศาล
ก.   ศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์
ข.   ศาลอาญาและศาลแพ่ง
ค.   ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค
ง.   ศาลอาญาธนบุรีและศาลอุทธรณ์ภาค
ตอบ  ค. ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค
มาตรา ๒๒ ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอำนาจศาล และมีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) พิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ในเมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(๒) วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมาย
(๓) วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น
20.   ศาลฎีกามีอำนาจอย่างไร
ก.   พิจารณาพิพากษาคดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้เสนอต่อศาลฎีกาได้โดยตรง
ข.   วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมาย
ค.   พิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น
ง.   พิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
ตอบ    ก. พิจารณาพิพากษาคดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้เสนอต่อศาลฎีกาได้โดยตรง
มาตรา ๒๓  ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้เสนอต่อศาลฎีกาได้โดยตรง และคดีที่อุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามที่กฎหมายบัญญัติ เว้นแต่กรณีที่ศาลฎีกาเห็นว่าข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่อุทธรณ์หรือฎีกานั้นจะไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา ศาลฎีกามีอำนาจไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น