กระบวนการตรากฎหมาย

 

การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

และการตราพระราชบัญญัติ

๑. การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

 

การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายที่มีลักษณะพิเศษที่

รัฐธรรมนูญระบุชื่อและหลักการสาคัญเอาไว้โดยเฉพาะเพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีกระบวนการตราและพิจารณาเหมือนกับการตราพระราชบัญญัติ แต่มีลักษณะพิเศษโดยรัฐสภาจะตราขึ้นได้เฉพาะในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ตราขึ้นและกาหนดเนื้อหาสาระสาคัญไว้ อันเป็นการผูกพันให้รัฐสภาจะต้อง ตรากฎหมายให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักการที่รัฐธรรมนูญกาหนดเท่านั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญจานวน ๑๐ ฉบับ คือ

๑. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

๒. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

๓. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

๔. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

๕. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน

๖. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต

๗. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

๘. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

๙. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง

๑๐. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


 

๑.๑ ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย

๑. คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง

๒. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจานวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

 

๑.๒ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ นอกจากที่บัญญัติไว้ ให้กระทาเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ โดยให้เสนอต่อรัฐสภา และให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน โดยการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สาม ต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยมากกว่ากึ่งหนึ่งของจานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา ถ้าที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณา ไม่แล้วเสร็จภายในกาหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามร่างที่เสนอ และภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้รัฐสภาส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นไปยังศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความเห็น 

 

 

- ในกรณีที่ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องไม่มี ข้อทักท้วงภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้รัฐสภาดาเนินการต่อไป

- ในกรณีที่ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องมีความเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบมีข้อความใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือทาให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ได้ให้เสนอความเห็นไปยังรัฐสภาและให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับความเห็น ในการนี้ ให้รัฐสภามีอานาจแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อเสนอของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระตามที่เห็นสมควรได้ และเมื่อดาเนินการเสร็จแล้ว ให้รัฐสภาดาเนินการต่อไป

 

๒.การตราพระราชบัญญัติ

การตราพระราชบัญญัติ คือ กระบวนการหรือขั้นตอนในการเสนอและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจนมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย

๒.๑ การเสนอร่างพระราชบัญญัติ

ร่างพระราชบัญญัติ ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

(๑) คณะรัฐมนตรี

(๒) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจานวนไม่น้อยกว่า ๒๐ คน

(๓) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจานวนไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ คน เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ตามหมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หรือหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

 

ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งผู้เสนอเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งและเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคารับรองของนายกรัฐมนตรี

 

ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงิน หมายถึง ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้

๑) การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับ อันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร

๒) การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน

๓) การกู้เงิน การค้าประกัน การใช้เงินกู้หรือการดาเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ

๔) เงินตรา

 

ในกรณีที่เป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ให้เป็นอานาจของที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะเป็นผู้วินิจฉัย

ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรจัดให้มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณากรณีที่เป็น ที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว

มติของที่ประชุมร่วมกันในการพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็น ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ให้ใช้เสียงข้างมากเป็นประมาณ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรออกเสียงเพิ่มเติมอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด 

 

๒.๒ กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

๒.๒.๑ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจะต้องเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อน ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณา เป็น ๓ วาระ ดังนี้

วาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการ

เป็นการพิจารณาหลักการของร่างพระราชบัญญัติว่าสมควรจะลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ โดยผู้เสนอจะชี้แจงหลักการและเหตุผลประกอบการเสนอของร่างพระราชบัญญัติ แล้วให้สมาชิกอภิปรายได้ไม่ว่าจะอภิปรายคัดค้านหรือสนับสนุน หรือข้อซักถาม เมื่อจบการอภิปรายแล้ว ที่ประชุมจะลงมติว่าจะรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้หรือไม่ ถ้าที่ประชุมมีมติรับหลักการก็จะเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่สอง แต่ถ้าไม่รับหลักการ ร่างพระราชบัญญัตินั้นก็เป็นอันตกไป

แต่ในบางกรณีที่ประชุมจะลงมติให้ส่งคณะกรรมาธิการพิจารณาหลักการแห่ง ร่างพระราชบัญญัตินั้นก่อนก็ได้เพื่อประโยชน์ในการพิจารณา เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วก็จะทารายงานเสนอต่อสภาเพื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภาต่อไป

ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่สมาชิกเป็นผู้เสนอ คณะรัฐมนตรีอาจขอรับร่างไปพิจารณาก่อนรับหลักการก็ได้ ซึ่งเป็นเอกสิทธิของคณะรัฐมนตรี เมื่อครบกาหนดเวลา การรอการพิจารณาแล้ว ประธานสภาผู้แทนราษฎรก็จะสั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระ เพื่อพิจารณาต่อไป

วาระที่สอง ขั้นพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการและการพิจารณารายมาตรา

การพิจารณาในวาระที่สองเป็นการพิจารณาในรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติ มี ๒ ลักษณะ คือ สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ดาเนินการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ โดยคณะกรรมาธิการเต็มสภา หรือมีมติแต่งตั้งและมอบหมายให้คณะกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งเป็นผู้พิจารณา ดังนี้

- การพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการเต็มสภา ถือว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนทาหน้าที่เป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น ซึ่งจะใช้สาหรับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่มีความจาเป็นรีบด่วนที่จะต้องออกใช้บังคับหรือเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่มีรายละเอียดไม่มากและไม่ยากในการพิจารณา โดยการพิจารณาครั้งเดียวสามวาระ ไม่มีขั้นตอนการยื่นคาขอแปรญัตติ มีผลการพิจารณาเป็นรายมาตราในชั้นกรรมาธิการและเป็นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่สองคราวเดียวกัน

- การพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการที่สภาแต่งตั้ง อาจเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญก็ได้

 

หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการชุดนั้น และเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติก็ให้เสนอคาขอ “แปรญัตติ” ต่อประธานคณะกรรมาธิการที่พิจารณาร่างนั้น ภายในเจ็ดวันนับแต่วันถัดจากวันที่สภารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติเว้นแต่สภาจะได้กาหนดเวลาแปรญัตติสาหรับร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้เป็นอย่างอื่น

ทั้งนี้ การแปรญัตติต้องแปรเป็นรายมาตราและการแปรญัตติเพิ่มมาตราขึ้นใหม่หรือตัดทอนหรือแก้ไขมาตราเดิมต้องไม่ขัดกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น

วาระที่สาม ขั้นลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติ

การพิจารณาในวาระที่สามไม่มีการอภิปราย และให้ที่ประชุมลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ในกรณีที่สภาลงมติไม่ให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป แต่ในกรณีที่สภามีมติให้ความเห็นชอบ ให้ประธานสภาดาเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภาต่อไป

 

๒.๒.๒ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา

วุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเป็น ๓ วาระ เช่นเดียวกับการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องพิจารณาตามกาหนดเวลาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน กาหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุมและให้เริ่มนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้น มาถึงวุฒิสภา เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษไม่เกินสามสิบวัน หากวุฒิสภาพิจารณาไม่เสร็จภายในกาหนดเวลาให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบ ในร่างพระราชบัญญัตินั้น

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา จะพิจารณาดังนี้

๑. กรณีวุฒิสภาเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร ให้นายกรัฐมนตรีนาขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

๒. กรณีวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร ต้องยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อน แล้วส่งคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร ครบหนึ่งร้อยแปดสิบวัน สภาผู้แทนราษฎรจึงจะสามารถนากลับมาพิจารณาอีกครั้ง แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินให้ลดเหลือสิบวัน หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนากลับมาพิจารณาใหม่และลงมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่ ถือว่าร่างนั้นได้รับความเห็นชอบแล้วให้นาเข้าสู่ขั้นตอนประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

๓. กรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม วุฒิสภาต้องส่งร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมไปยังสภาผู้แทนราษฎร เมื่อสภาผู้แทนราษฎรรับทราบและเห็นชอบด้วย ให้นายกรัฐมนตรีนาขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ทันที แต่ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบ ให้ทั้งสองสภาตั้งบุคคลที่มีจานวนเท่ากันขึ้นเป็น “คณะกรรมาธิการร่วมกัน” เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นอีกครั้ง ต้องรายงานและเสนอ ร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วต่อทั้งสองสภา ถ้าสภาทั้งสองเห็นชอบด้วย ให้นายกรัฐมนตรีนาขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ทันที แต่ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย ให้ยับยั้งร่างนั้นไว้ก่อน ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้หลังหนึ่งร้อยแปดสิบวัน โดยอาจยืนยันร่างเดิมหรือร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาก็ได้

 

๒.๓ กรณีพระมหากษัตริย์ทรงเห็นชอบและไม่เห็นชอบ

สาหรับกระบวนการลงพระปรมาภิไธยโดยพระมหากษัตริย์ นายกรัฐมนตรีจะต้องนาขึ้นทูลเกล้าฯ ภายในยี่สิบวัน หลังจากที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา หากพระมหากษัตริย์ทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ แต่ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นชอบและทรงใช้อานาจยับยั้ง ร่างพระราชบัญญัตินั้นจะถูกส่งคืนมายังรัฐสภาโดยไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย หรืออาจทรงเก็บร่างนั้นไว้โดยไม่พระราชทานคืนมายังรัฐสภาจนล่วงพ้นเวลาเก้าสิบวัน ในกรณีนี้รัฐสภาจะต้องประชุมร่วมกันเพื่อปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ หากรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา ให้นายกรัฐมนตรีนาขึ้นทูลเกล้าฯ อีกครั้งหนึ่ง หากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลง พระปรมาภิไธยและทรงพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนา ร่างพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว 

 

บรรณานุกรม

สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐. (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพฯ: สานักประชาสัมพันธ์ สานักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร, ๒๕๖๒.

สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. “ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรพุทธศักราช ๒๕๖๒.” สืบค้นเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒. จาก https://library2.parliament.go.th /giventake/content_give/force-hr2562.pdf,

ไม่มีความคิดเห็น: