ความหมายและลักษณะทั่วไปของกฎหมายอาญา

ความหมายของกฎหมายอาญา

กฎหมายอาญา คือกฎหมายที่บัญญัติว่า การกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิด และกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดไว้ด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง กฎหมายอาญา คือกฎหมายที่บัญญัติห้ามมิให้มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด หรือบังคับให้มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับโทษ

กฎหมายอาญาแบ่งออกเป็น 3 ภาค

ภาค 1 - เป็นบทบัญญัติทั่วไป ซึ่งเป็นหลักเบื้องต้นที่จะนำไปใช้กับความผิดอาญาต่าง ๆ ได้ทั่วไป เช่น หลักเรื่องการใช้กฎหมายอาญาโทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย ความรับผิดในทางอาญา การพยายามกระทำความผิด ตัวการและผู้สนับสนุน การกระทำคามผิดหลายบทหรือหลายกระทง การกระทำความผิดอีก และอายุความ
ภาค 2 - ว่าด้วยลักษณะความผิดต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 12  ลักษณะ
ภาค 3 - ว่าด้วยความผิดลหุโทษ

ความมุ่งหมายของกฎหมายอาญา

ความมุ่งหมายทั่วไป คือ ควบคุมความประพฤติของบุคคลให้อยู่ในสังคมด้วยความเรียบร้อย และยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะคุ้มครองความปลอดภัยของสังคมอีกด้วย กล่าวคือกฎหมายอาญาทำหน้าที่รักษาโครงสร้างของสังคมให้มั่นคง และรักษาความสงบสุขให้แก่สมาชิกของชุมชนโดยส่วนรวม ในการที่จะบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายรัฐได้ใช้โทษอาญาเป็นเครื่องมือจัดการกับผู้กระทำความผิด การพิจาณาว่าพฤติกรรมอย่างใดควรบัญญัติเป็นความผิด และมีโทษหนักเบาสถานใด กฎหมายอาญาสมัยใหม่ได้คำนึงถึงข้อพิจารณา 2 ประการคือ  
  1. ส่วนที่ได้เสียสำคัญของสังคมที่จะต้องรักษาไว้
  2. ลักษณะอันเป็นภัยของผู้กระทำความผิด
ลักษณะของกฎหมายอาญามีดังนี้
  1. เป็นกฎหมายมหาชน เป็นบทบัญญัติถึงความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนกับรัฐ
  2. เป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดและโทษอาญา
  3. ตามปกติบังคับเฉพาะการกระทำในอาณาเขต
  4. บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
  5. ไม่มีผลย้อนหลังในทางลงโทษบุคคลหรือให้รับโทษหนักขึ้น
  6. กฎหมายอาญามีผลย้อนหลังในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น