โทษทางอาญา

 โทษทางอาญาตามมาตรา 18 มี 5 ประเภท
1. ประหารชีวิต 2. จำคุก 3. กักขัง 4. ปรับ 5. ริบทรัพย์สิน
- ประหารชีวิต และ ริบทรัพย์สิน : ไม่มีสภาพกำหนดความหนักเบาได้
- ริบทรัพย์สิน : ไม่สามารถลดโทษหรือลดมาตราส่วนโทษได้
- ประหารชีวิต : อาจเปลี่ยนโทษได้ เมื่อมีการลดโทษหรือลดมาตราส่วนโทษ



โทษประหารชีวิต
- ปอ.ม.19 “ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิตให้ดำเนินการด้วยการฉีดยาหรือสารพิษเสียให้ตาย”
- กระบวนการ
1. ศาลชั้นต้นพิพากษา ประหารชีวิต(หรือจำคุกตลอดชีวิต) เ ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์
2. ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ประหารชีวิต(หรือจำคุกตลอดชีวิต) จึงจะถือว่าถึงที่สุด
3. รอ 60 วันนับแต่วันฟังคำพิพากษาทูลเกล้าฯขอรับพระราชทานอภัยโทษ(โดย รมว.มหาดไทย)
4. รอครบ 60 วัน ประหารได้ หรือ ทรงยกเรื่องราวนั้นเสีย ประหารได้ก่อน 60 วัน
- ประหารชีวิตหญิงมีครรภ์ ต้องรอจนกว่าจะคลอดบุตรแล้ว
- วิกลจริต รอจนหาย ถ้าเกิน 1 ปี ให้ลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต

โทษจำคุก
1. เป็นโทษที่รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมมากที่สุด
2. การคำนวณระยะเวลา
- นับวันเริ่มจำคุกด้วย โดยนับเป็น 1 วันเต็ม ไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนชั่วโมง
- นับ 30 วัน เป็น 1 เดือน, นับเป็นปีตามปีปฏิทินราชการ
- ให้ปล่อยตัวในวันที่ถัดจากวันครบกำหนด เวลาใดก็ได้
- เริ่มตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษา(วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาโดยเปิดเผย ไม่ใช่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด)
และให้หักวันคุมขังก่อนหน้านี้ด้วย ยกเว้นจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น
- ตัวอย่าง เริ่มจำคุก 1 ก.พ. 47
โทษ 10 วัน ครบกำหนด 10 ก.พ.47 ปล่อยตัว 11 ก.พ.47
โทษ 1 เดือน ครบกำหนด 2 มี.ค.47 ปล่อยตัว 3 มี.ค.47
โทษ 1 ปี ครบกำหนด 31 ม.ค.47 ปล่อยตัว 1 ก.พ.47

โทษกักขัง
1. กรณีที่จะมีการกักขังได้ 5 ข้อ
1.1 เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขัง
1.2 ต้องโทษปรับ แล้วไม่ชำระค่าปรับ
1.3 ขัดขืนคำพิพากษาให้ริบทรัพย์สิน
1.4 ไม่ยอมทำทัณฑ์บน หรือหาประกันไม่ได้
1.5 ไม่ชำระเงินตามที่ศาลสั่ง เมื่อกระทำผิดทัณฑ์บน
2. สถานที่กักขัง
2.1 สถานที่กำหนดไว้อันมิใช่เรือนจำ : สถานีตำรวจ สถานกักขังของกรมราชทัณฑ์
2.2 สถานที่อื่น : ที่อาศัยของผู้นั้นเอง ที่อาศัยของผู้อื่นที่ยินยอมรับผู้นั้นไว้ สถานที่อื่นที่กักขังได้
3. สิทธิของผู้ต้องโทษกักขัง
- รับการเลี้ยงดูจากสถานที่นั้น
- รับอาหารจากภายนอก โดยค่าใช้จ่ายของตนเอง
- ใช้เสื้อผ้าของตนเอง
- ได้รับการเยี่ยมอย่างน้อยวันละ 1 ชม.
- รับและส่งจดหมายได้

โทษปรับ
1. ม.28 “ผู้ใดต้องโทษปรับ ผู้นั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ปรากฏไว้ในคำพิพากษาต่อศาลต้องชำระเป็นเงินเท่านั้น ชำระด้วยอย่างอื่นไม่ได้
2. การยกโทษปรับ 
ม.20 “บรรดาความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษทั้งจำคุกและปรับด้วยนั้น ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงโทษแต่จำคุกก็ได้”
แต่จะลงโทษปรับแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ลงโทษจำคุกไม่ได้
3. มาตรการบังคับในการไม่ชำระค่าปรับ
- ถ้าไม่ชำระค่าปรับใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา เ ยึดทรัพย์สินมาใช้ค่าปรับ หรือ กักขังแทนค่าปรับ
- ไม่ถึง 30 วัน แต่สงสัยว่าจะหลีกเลี่ยง ศาลอาจเรียกประกัน หรือ กักขังแทนค่าปรับไปพลางก่อนก็ได้
4. การคำนวณเวลากักขังแทนค่าปรับ
- อัตรา 500 บาทต่อ 1 วัน ส่วนที่เกินมาตัดทิ้ง
- ค่าปรับรวมกัน(อาจหลายกระทง) ไม่ถึง 40,000 บาท กักขังได้ไม่เกิน 1 ปี
- ค่าปรับรวมกัน ตั้งแต่ 40,000 บาทขึ้นไป กักขังเกิน 1 ปีได้ แต่ต้องไม่เกิน 2 ปี
- เมื่อครบกำหนดแล้ว ให้ปล่อยตัววันรุ่งขึ้น
- ถ้านำเงินค่าปรับมาชำระจนครบ ให้ปล่อยตัวทันที

โทษริบทรัพย์สิน
1. ทรัพย์สินที่กฎหมายให้ริบได้
-ศาลต้องริบโดยเด็ดขาด (ม.32) กม.บัญญัติว่าผู้ใดทำเป็นความผิด(เงินปลอม) ผู้ใดมีไว้เป็นความผิด(ปืนเถื่อน ฝิ่นเถื่อน)
- ศาลต้องริบโดยเด็ดขาด (ม.34) สินบนเจ้าพนักงาน เพื่อจูงใจ เพื่อเป็นรางวัลในการกระทำผิดเว้นแต่เป็นของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วย
- ศาลริบได้โดยดุลพินิจ (ม.33) ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้กระทำความผิด มีไว้เพื่อใช้กระทำความผิด 
ได้มาโดยการกระทำความผิด
- ศาลต้องริบตามกฎหมายอื่นๆ (ม.17) เช่น พรบ.ป่าไม้ พรบ.ศุลกากร พรบ.การพนัน
2. ผลของการริบทรัพย์สิน(ม.35) : ให้ตกเป็นของแผ่นดิน, ทำให้ใช้ไม่ได้, ทำลาย
3. การคืนทรัพย์ที่ริบให้แก่เจ้าของ (ม.36) : ถ้าเจ้าของที่แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจ และเจ้าพนักงานยังครอบครองอยู่
ให้ศาลสั่งคืน แต่ต้องขอภายใน 1 ปี นับแต่วันพิพากษาถึงที่สุด
4. กรณีไม่ยอมส่งทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบ (ม.37) : 
-ยึดทรัพย์สินนั้น
-ให้ชำระราคา หรือสั่งยึดทรัพย์อื่นชดใช้ราคาจนเต็ม
- กักขังจนกว่าจะส่ง แต่ไม่เกิน 1 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น