รอกำหนดโทษ / รอการลงโทษ

ความหมาย แนวความคิด และประโยชน์

ความหมาย แนวความคิด และประโยชน์ของการรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษรอการกำหนดโทษ” หมายความว่า วิธีการที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่ยังไม่ได้ กำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ส่วน “รอการลงโทษ” หมายความว่า วิธีการที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมี ความผิด และได้กำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยแล้ว แต่ยังให้รอการลงโทษไว้ก่อน

 การรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษเป็นวิธีการหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมอาญา ทางเลือก (alternative criminal justice) ที่น ามาใช้เพื่อเบี่ยงเบน หรือหันเห (diversion) คดีออก จากกระบวนการยุติธรรมอาญากระแสหลัก (conventional criminal justice) 3 วิธีการนี้มี แนวความคิดเน้นหนักไปที่การแก้ไขฟื้นฟู (rehabilitation) ผู้กระทำความผิดที่ไม่สมควรถูกส่งตัวเข้า สู่ระบบเรือนจำ ให้ได้มีโอกาสกลับตัวกลับใจเป็นคนดีภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด4 (ระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนดคือระยะเวลาที่ศาลจะรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษ แล้วแต่ กรณี) สำหรับประโยชน์ของการรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษนั้นมีอยู่หลายประการด้วยกัน เป็นต้นว่า

 (1) ผู้กระทำความผิดได้มีโอกาสกลับตัวกลับใจเป็นคนดีแทนการที่ต้องถูกลงโทษจำคุก

(2) ป้องกันไม่ให้พฤติกรรมของผู้กระทำความผิดที่เริ่มเบี่ยงเบนขั้นต้น กลายเป็นพฤติกรรม เบี่ยงเบนไปอย่างถาวรหากต้องถูกลงโทษจำคุก

(3) ป้องกันปัญหาความแออัดของจำนวนนักโทษในเรือนจำ

(4) ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ถูกตีตรา (labeled) จากสังคมว่าเป็นผู้ที่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน (5) หลีกเลี่ยงการลงโทษจำคุกซึ่งไม่เหมาะสมกับผู้กระทำความผิดบางประเภท เช่น นักศึกษาลักหนังสือของเพื่อนเป็นครั้งแรก หากต้องถูกลงโทษจำคุก ก็อาจทำให้นักศึกษาผู้นั้นหมด อนาคตทางการศึกษาได้ เป็นต้น

หลักเกณฑ์ใหม่ในการรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษ 

มาตรา 56 วรรคแรก (ใหม่) บัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับ และ ในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามหรือลงโทษปรับ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น (1) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือ (2) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือ ความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ (3) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำ ความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และเมื่อศาลได้ค านึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือการรู้สึกความผิด และพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมี ความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือ ปรับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่าง เพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้ กำหนดแต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ ของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น